น้ำมัน
จันทน์หอม


ชื่อทั่วไป : น้ำมันจันทน์หอม น้ำมันจันทน์ น้ำมันไม้จันทน์ (Sandalwood Essential Oil)
ขวดเล็ก 15 CC = 230
ขวดใหญ่ 20 CC = 320
สนใจโทร. 084-5409123
Facebook : น้ำมันจันทน์หอม

น้ำมันจันทน์หอม น้ำมันจันทน์

น้ำมันจันทน์หอม สกัดมาจากต้นจันทน์แท้ๆ 100% ของต้นไม้จันทน์ มีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ ปลอดภัยจากสารเคมี ปลอดภัยจากน้ำหอมสังเคราะห์ใดๆ เนื่องจากสกัดมาจากไม้จันทน์แท้ๆ 100% มีคุณสมบัติด้านกลิ่นหอม สรรพคุณ น้ำมันจันทน์หอม ไม้หอม Sandalwood คนโบราณถือว่าไม้จันทน์หอมมีเนื้อไม้ที่มีกลิ่นหอม ให้กลิ่นหอม เป็นไม้ชั้นสูง ทางด้านศาสนาใช้เป็นส่วนผสมทำวัตถุมงคล นำไปใช้เป็นส่วนผสมเครื่องรางของขลัง แช่วัถตุมงคล เพื่อเป็นศิริมงคลทรงคุณค่า เสน่ห์ เมตตา มหานิยม แก่คนทั่วไป ใช้ผสมหุงทำสีผึ้ง (น้ำมันนวด) ทางด้านอโรม่า (Aroma) ใช้เป็นส่วนผสมกับน้ำมันนวดเพิ่มความหอมที่เกี่ยวข้องกับ Aroma (อโรม่า) ที่แปลว่า กลิ่น , กลิ่นหอม และ Therpy (เธราปี) แปลว่า การบำบัดรักษา หรือการบำบัดรักษาโรคโดยใช้กลิ่นหอม (Aroma Therpy) ที่มีกลิ่นหอมสุขุม นุ่มลึก

ไม้จันทน์หอม : ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Mansonia gagei J. R. Drumm. ex Prain เป็นพันธ์ไม้ที่อยู่ในวงศ์ Sterculiaceae

การนำไปใช้

ผสมทำวัตถุมงคล เครื่องรางของขลัง
ส่วนผสมหุงทำสีผึ้ง น้ำมันนวด
ผสมกับน้ำมันนวด ด้านอโรม่า (Aroma) บำบัดรักษาโรคโดยใช้กลิ่นหอม
ใช้ปรุงเครื่องสำอาง ใช้เป็นยาหอมบำรุงหัวใจ
ผสมในน้ำมันนวดตัว 2-2.5% ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย และช่วยบำรุงผิว



ความเป็นมา : น้ำมันจันทน์หอมได้มาจากต้นไม้จันทน์หอม เป็นพันธุ์ไม้ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย เป็นไม้ที่อยู่ในวงศ์ Sterculiaceae นอกจากนี้ไม้จันทน์หอมยังมีชื่อสามัญว่า Kalamet และยังมีชื่อเรียกไทยอื่นๆ ด้วย เช่น จันทน์ จันทน์ชะมด จันทน์ขาว และจันทน์พม่า

นิเวศวิทยา : ไม้จันทน์หอมมีเขตการกระจายพันธุ์ที่อินเดีย พม่า และในไทย ไม้จันทน์หอมจะขึ้นในป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง ตามเขาหินปูน ส่วนมากพบทางภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคตะวันตกเฉียงใต้ จากระดับน้ำทะเล 200-400 เมตร

ลักษณะทางพฤกศาสตร์ : ต้นจันทน์หอมเป็นไม้ต้น ผลัดใบ ความสูง 10-20 เมตร เปลือกสีเทาแตกเป็นร่อง ลักษณะเนื้อไม้มีสีน้ำตาลอ่อน เป็นไม้เนื้อแข็ง และไม้จันทน์หอม เป็นไม้ที่เติบโตได้ในเกณฑ์ปานกลางถึงค่อนข้างเร็ว ถ้าได้รับการดูแลเป็นอย่างดี ควรปลูกอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม อาจปลูกลงแปลงขนาดใหญ่เหมือนไม้กฤษณาที่แพร่หลายในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังเป็นพันธุ์ไม้ประจำจังหวัดนครปฐมอีกด้วย (ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น)

ไม้จันทน์หอม ไม้ชั้นสูง :ไม้จันทน์หอมยืนต้นตายตามธรรมชาติ จะมีกลิ่นหอมมาก มีสรรพคุณทางสมุนไพร ไม้จันทน์หอมเป็นไม้มีค่าหายาก จึงจัดเป็นไม้มงคลชั้นสูง คนโบราณถือว่าประชาชนคนทั่วไปจะนำไปใช้ปลูกสร้างบ้านเรือนไม่ได้ มีหลักฐานบันทึกข้อมูลไว้ว่า นับตั้งแต่สมัยโบราณยุคพุทธกาล " ไม้จันทน์หอม " ในประเทศไทยใช้กันมาอย่างต่อเนื่อง นับแต่ยุคประวัติศาสตร์ตอนต้นสมัยอยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์ จนถึงปัจจุบัน ไม้จันทน์หอมนำไปใช้ประโยชน์ในด้านไม้หอมและน้ำมันจันทน์หอม คนโบราณถือว่า ไม้จันทน์หอมมีเนื้อไม้มีกลิ่นหอม เป็นไม้ชั้นสูง ถูกนำไปใช้ในงานพระราชพิธีต่างๆ พิธีสำคัญ เพื่อเป็นเชิงสัญลักษณ์ที่แสดงว่า ไม่ว่าไม้จันทน์หอมจะเป็นหรือยืนต้นตายตามธรรมชาติ ก็ยังคงมีความหอม เปรียบเหมือนคนที่ตอนมีชีวิตอยู่นั้นได้ทำความดีไว้มากมาย แต่เมื่อสิ้นชีวิตไปแล้ว ความดีนั้นก็ยังคงอยู่ (ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น)

ที่มาข้อมูล
ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)